fbpx

ผมเรียนจบสายวิศวะ ในช่วงที่ คนเรียนสายนี้ สมัยนั้นเมื่อปี 2534 ถือว่าเป็นมนุษย์ทองคำ หางานง่าย หลังจากจบ ได้หยุดงาน 7 วัน หลังจากนั้นเริ่มต้นทำงานไปคุมไซด์ก่อสร้างโรงกระดาษที่กาญจนบุรี คุมลูกน้องเกือบ 30 ชีวิต ทำงานโปรเจคอยู่หลายงาน เช่น โรงกลั่นน้ำมันบางจาก โรงกลั่นน้ำมันเอสโซ่ เป็นทีม Commissioning/Start up ปิโตรเคมี จากวิศวกรจนเป็นผู้จัดการโครงการ

หลังจากนั้น 4 ปี เปลี่ยนงานครั้งแรก ไปทำงานทางด้านการออกแบบ ถูกส่งไปอยู่สิงค์โปร์ บินไปบินกลับเดือนนึงประมาณ 3 ถึง 4 ครั้ง ทำงานทางด้าน SCADA และ DCS SYSTEM ทำงานออกแบบ ระบบควบคุมโรงกลั่นน้ำมัน งานแท่นขุดเจาะน้ำมัน(OFFSHORE) หลายงาน สนุกมากๆช่วงนั้น เพราะเดินทาง แยะมากๆ

กลับไปเรียนต่อ ์NIDA MBA เปลี่ยนงานเป็นเซลล์ที่ซีเมนส์ไทยแลนด์ คุมงานขาย PLC และ DCS ขายงานโครงการและ เป็นตัวแทนดูเรื่อง ProfiBUS การสื่อสารในยุคเริ่มต้น ของอุปกรณ์เซนเซอร์ต่างๆ ถูกส่งไปทำงาน เยอรมันนี เลยเข้าใจชีวิตชาวยุโรปอยู่พักใหญ่

สุดท้ายโดนดึงตัวจากบริษัททางด้านการออกแบบการผลิตอัตโนมัติของสวีเดน มาเป็นผู้บริหารและก่อตั้งสาขาในประเทศไทย ดูแลให้ธุรกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายตามบริษัทแม่และควบคุมกิจการทั้งหมดในไทย เดินทางแยะเหมือนเดิม ทำงานการออกแบบและติดตั้งระบบอัตโนมัติในไทยหลายโครงการ ทั้งไลน์การผลิตนม เครื่องดื่ม เลนซ์แว่นตา มันฝรั่ง กระดาษทิชชู่ แชมพู และ โลชั่น ออกแบบและควบคุมงาน โดยคนไทย

ตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน มีการคิดเสมอว่า จะต้องมาเป็นเจ้าของกิจการส่วนตัวให้ได้… ดังนั้น ทุกๆครั้งที่เปลี่ยนงาน จึงเป็นการเปลี่ยน ฟังก์ชั่น การทำงานไปเป็น แบบต่างๆ จาก วิศวกรคุมงาน -> งานออกแบบ -> งานเซลล์ -> งานบริหารกิจการ

ปี54 น้ำท่วมกรุงเทพ มีเพื่อนบอกให้ออกแบบโรงงานน้ำดื่มมาตราฐาน ตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคนทำให้มาตราฐาน ส่วนใหญ่เป็นแต่แบบครัวเรือน หรือ ไม่ก็ซื้อเครื่องมาวาง ออกแบบ ปรึกษา อย นิดหน่อยก็ทำกันแบบคนรุ่นเก่าทำกันไปเอง การที่จะรู้จัก GMP HACCP การดู Material Flow / Man Flow / การแยกส่วของดี การแยกส่วนของเสีย การทำพื้นให้สะอาดโดย PU การนำ ISO Wall มาใช้ ทำผนังเพราะกันการเกิดเชื้อราและความสะอาด ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึง ผมบอกว่าง่ายมากๆ เพราะที่เคยทำมายากกว่านี้แยะ เลยเริ่มทำให้ลูกค้าจ้าวแรก สนุกมาก แล้วก็มีลูกค้าติดต่อมาเร่ือยๆจนสร้างมาเกือบ 30 โรงงาน ทั่วไทย

ตอนนั้นก็วางแผนเหมือนกันว่า น่าจะทำโรงงานน้ำดื่ม ผลิตน้ำขาย แต่วิเคราะห์แล้วธุรกิจน้ำดื่มหัวใจหลักของต้นทุนคือ บรรจุภัณฑ์(Packaging) ขวด ฝา ฉลาก ซึ่งมีมูลค่าถึง60% ของต้นทุนการผลิตน้ำดื่มหนึ่งขวด โดยที่มูลค่าน้ำดื่มไม่ถึง 1% ส่วนที่เหลือคือค่าแรง ค่าขนส่ง กำไร ในตอนนั้นก็มีโรงงานผลิตน้ำดื่ม แยะแล้ว มีคนเริ่มทำน้ำดื่มติดแบรนด์ลูกค้า(OEM)อยู่แล้ว แต่สถานะการณ์ตอนนั้น ยังมองเห็นช่องว่าทางการตลาด เพราะ ราคาน้ำดื่มยังอยู่ที่ราคา แพ็คละ 40-45 บาท ตลาดรับทำแบรนด์ยังไม่มีจ้าวไหนที่โดดเด่นแข็งแรง มองการทำตลาดตอนนั้นคิดว่าสามารถช่วงชิง ขยายตลาดได้

วางแผนแล้วปรับแผน ปี2556 เริ่มลงทุนครั้งแรกกับการซื้อเครื่องจักรผลิตขวด เริ่มรับงานผลิตน้ำดื่มทำแบรนด์(OEM) โดยผลิตขวดแล้วส่งไปโรงงานที่ผลิตน้ำดื่มพันธมิตรให้บรรจุให้ เริ่มทำแผนการตลาด ปรากฎว่าได้รับความสนใจมากมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดอย่างน่าตกใจ แม้แต่โรงงานพันธมิตรที่บรรจุน้ำให้ก็ยังแปลกใจว่าสามารถผลิตน้ำ ขายน้ำได้ราคากว่าโรงงานบรรจุเองเสียอีก …ความอยากทำบ้างเลยเริ่มการกีดกัน การโก่งราคา การทำตลาดมาแข่งขัน..

เราจึงเริ่มสร้างโรงงานผลิตน้ำดื่ม สร้างโรงผลิตขวด ผลิตพรีฟอร์ม ทำทุกอย่างครบวงจร จนปัจจุบัน (2565) ผลิตน้ำดื่มให้ลูกค้ามากกว่า 1000 แบรนด์ ขายขวดให้ลูกค้า ผลิตเครื่องดื่มน้ำวิตามินและน้ำสมุนไพร และยังคงทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง มีหลายๆสถาบันมาเยี่ยมชมโรงงาน มีลูกค้ามาตรวจคุณภาพการผลิตอย่างต่อเนื่องและแนะนำลูกค้าต่อๆกันไป มีหลายเว็บไซด์จัดอันดับให้เราเป้นอันดับที่#1 ในการผลิตน้ำดื่มทำแบรนด์ลูกค้า (OEM) ขอขอบคุณมา ฌ โอกาสนี้ครับ

ทุกธุรกิจมีความลับ มีจุดที่เป็นหัวใจหลัก มีสิ่งที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อน ไม่ใช่ใครๆก็ทำแล้วจะประสบผลลัพท์ผลสำเร็จเหมือนๆกัน เราต้องวางแผนและปรับแผน ลงมือทำ อยู่ตลอดเวลา

ณ ตอนนี้(2565) การตลาดน้ำดื่มมีการแข่งขันสูง สถาวะการ์ณที่เปลี่ยนไปให้เห็นคือ

  • มีการลงทุนสร้างไลน์การผลิตขนาดใหญ่ แบบอุตสาหกรรม พร้อมการผลิตขวดครบวงจร เพื่อลดต้นทุนการผลิตให้เหลือน้อยที่สุด(Economy of Scale) เริ่มกระจายไปในหลายๆ จังหวัด ทำการตั้งราคาขายที่ถูกกว่ารายเล็กๆ สร้างเครืือข่ายร้านค้ากระจายขายน้ำราคาถูกเห็นง่าย ทั่วไป
  • เกิด Over Supply มีการแข่งขันราคาสูง ในร้านค้าย่อยทั่วไป มีการกดราคาขายเหลือแพ็คละ 20-28 บาทในราคาหน้าโรงงาน หรือ บางสถานที่ ผู้ซื้อเลือก ราคาที่จะต้องการซื้อ เพื่อให้ผู้ขายยอมขายในราคาที่ต้องการได้
  • มีผู้ประกอบการ สร้างโรงงานน้ำดื่มแบบครัวเรือนเกิดขึ้นมากมาย เพราะลงทุนไม่แยะ แน้นขายในพื้นที่ไกล้โรงงาน
  • เริ่มมีผู้ประกอบการ คนกลางขายน้ำดื่มมากขึ้น โดยแน้นรับน้ำหน้าโรงงาน ราคาถูกมาขาย
  • ตัวโปรดักด์ หรือ น้ำดื่ม ของผู้ผลิตรายย่อย ดูเหมือนๆกัน ไม่แตกต่างกัน ไม่มีความโดดเด่น หรือ ทำตลาดให้ดูแตกต่าง
  • ผู้ผลิตรายใหญ่ แน้นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ แบรนด์ให้เติบโต สร้างการขายผ่านทุกช่องทางการตลาด
  • ผู้ผลิตรายใหญ่ เริ่มให้บริการ การส่งนำ้ดื่มถึงบ้าน ไม่ต้องแบก แน้นเข้าหาผู้บริโภครายย่อย เป็นทางเลือก
  • มีการนำ เอกลัษณ์การออกแบบขวด การนำการ์ตูน ตัวละคร หรือ จินตนาการต่างๆ ไมใส่บนสัญญัลษณ์ บนขวดน้ำดื่ม เพื่อดึงดูด ความสนใจ และ บางครั้ง ก็เป็นของสะสม

ปัจจุบัน กับ อดีต อยู่บนสภาวะแวดล้อมที่ต่างกัน สำหรับผู้สนใจและได้อ่านบทความนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ และ สำหรับผู้สนใจที่ต้องการลงทุนสร้างธุรกิจน้ำดื่ม สร้างโรงงาน สามารถติดต่อที่วิงค์ได้ครับ ยินดี..